
ระยะเวลา 30 ปีจนกระทั่งถึงปี ค.ศ. 1980 โรคหลอดเลือดสมอง (stroke) ไม่ว่าจะเป็นโรคเส้นเลือดในสมองตีบ เลือดออกในสมอง เลือดออกใต้เยื่อหุ้มสมองชั้นกลาง เป็นต้น เป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 ในญี่ปุ่น ปัจจุบันมีผู้เสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดสมองเป็นอันดับ 4 รองจากมะเร็ง โรคหัวใจ ปอดอักเสบ
(ในประเทศไทยข้อมูลจากสำนักปลัดกระทรวงสาธารณสุขรายงานสถิติว่า ช่วงปี พ.ศ. 2544-2553 พบว่า อัตราการเสียชีวิตด้วยโรคหลอดเลือดสมองต่อประชากร 100,000 คน มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่งปี พ.ศ. 2553 เป็น 27.5 คน นอกจากนี้ ข้อมูล 10 ลำดับแรกของการตายในประชากรไทยปี พ.ศ. 2547 พบว่า การตายในเพศชายด้วยโรคหลอดเลือดสมองอยู่ในลำดับที่ 3 และเพศหญิงพบอยู่ในลำดับที่ 1 ส่วนในปี พ.ศ. 2552 พบว่าการตายด้วยโรคหลอดเลือดสมองขึ้นมาอยู่ในลำดับที่ 1 ทั้งในประชากรเพศชายและเพศหญิง)
ส่วนใหญ่ของโรคหลอดเลือดสมองจะเกิดขึ้นอย่างเฉียบพลัน อาจจะ “แตก” หรือ “ตีบ” มีความเสี่ยงที่จะทำให้ถึงแก่ชีวิตหรือมีอาการผิดปกติตามมา เช่น อัมพฤกษ์ อัมพาตครึ่งตัว
มีหลายคนไป “ตรวงสมอง” เหมือนกันนะครับ การตรวจสมองคือการตรวจสุขภาพเพื่อหาปัจจัยเสี่ยงของโรคสมอง ด้วยวิธีตรวจเลือดหรือทำ MRI2 ทว่าการตรวจสมองส่งผลร้ายอย่างชัดเจน
2magnetic resonance imaging เป็นการตรวจร่างกายโดยเครื่องตรวจที่ใช้คลื่นสนามแม่เหล็กความเข้มสูงและคลื่นความถี่ในย่านความถี่วิทยุ ในการสร้างภาพเหมือนจริงของอวัยวะภายในของร่างกาย โดยเฉพาะสมอง หัวใจ กระดูก กล้ามเนื้อ และส่วนที่เป็นมะเร็งด้วยคอมพิวเตอร์ ให้รายละเอียดและความคมชัดสูง เป็นภาพตามแนวระนาบทั้งแนวขวาง แนวยาว และแนวเอียง ได้ภาพชัดเจนและแม่นยำกว่าการทำซีทีสแกน
หมอผ่าตัดสมองในซัปโปะโระเป็นคนริเริ่มการตรวจสมองครั้งแรกของโลกในปีค.ศ. 1988 เขาคิดว่าหากพบและดูแลรักษา เส้นเลือดโป่งพอง ที่ยังไม่แตก จะทำให้ลดโรคเส้นเลือดในสมองลง แต่ไม่มีหลักฐานใดมาสนับสนุนข้อมูลนั้นเลย
การตรวจสมองแพร่หลายเฉพาะในญี่ปุ่นเท่านั้น “ญี่ปุ่นมีแพทย์ศัลยกรรมสมองถึง 50,000 คน ในสหรัฐอเมริกามีประมาณ 32,000 คน ประเทศในแถบยุโรปมีหลายร้อยคน” (ข้อมูลจากการสัมมนาผ่าตัดเส้นประสาทสมองปี ค.ศ. 1999) ซึ่งหมายความว่าญี่ปุ่นมีแพทย์ศัลยกรรมสมองมากเกินไป และอาจจะว่างงานได้
ผมมีเรื่องราวในหนังสือพิมพ์มาเล่าครับ หญิงวัย 65 ปีคนหนึ่งรับการตรวจสมอง พบว่ามีอาการเส้นเลือดสมองโป่งพอง ถ้าโชคร้ายอาจจะแตกขึ้นมาไม่วันนี้ก็พรุ่งนี้ แต่การผ่าตัดสามารถป้องกันอาการปริแตกได้ อีกทั้งอันตรายจากการผ่าตัดยังน้อยกว่าอันตรายจากเส้นเลือดแตก หมอผู้ดูแลจึงถามว่าจะผ่าไหม
เธอเลือกที่จะผ่า แต่หลังจากนั้นร่างกายซีกขวาของเธอก็เป็นอัมพาต พูดไม่ได้ แม้เวลาจะผ่านไป 2 ปีแล้วก็ยังยืนด้วยตัวเองไม่ได้ ได้ยินว่าหมอผู้ผ่าตัดเปรยภายหลังว่า “ถ้าไม่ผ่าก็ดีหรอก โอกาสที่เส้นเลือดจะไม่แตกมีแค่ 1-2% เอง”
อัตราเส้นเลือดจะปริแตกของโรคเส้นเลือดโป่งพอง ไม่ถึง 1 เซนติเมตรมีเพียง 0.05%…ใช้เวลา 20 ปีถึงจะขึ้นมาเป็น 1% สถาบัน 53 แห่งในทวีปยุโรปและอเมริการ่วมมือกันสรุปผลการตรวจสอบคนไข้ 2,621 คนที่มีอาการ เส้นเลือดโป่งพอง
The New England Journal of Medicine นิตยสารการแพทย์ที่ทรงอิทธิพลต่อวงการแพทย์และมีผู้อ่านมากที่สุดในโลก รายงานออกมาเรียบร้อยในปี ค.ศ. 1998 แล้วสื่อทั่วโลกก็หยิบยกเนื้อความมาเล่าจนผู้ป่วยในแต่ละประเทศเริ่มปฏิเสธการผ่าตัดมากขึ้นเรื่อยๆ
ทว่าเมื่อแพทย์ญี่ปุ่นทำแบบสอบถามในอีก 3 ปีให้หลัง ผลปรากฏว่าหมอ 60% อธิบายกับคนไข้ว่า “อัตราเส้นเลือดจะปริแตกของโรคเส้นเลือดโป่งพองที่ไม่ถึง 1 เซนติเมตร มี 1-2% มีแพทย์เพียง 2% เท่านั้นที่อธิบายว่ามีโอกาส “0.05%” (ข้อมูลจากการสัมมนาการตรวจสมองในญี่ปุ่น ปี ค.ศ. 2001)
หลังจากนั้นแม้แต่ในญี่ปุ่นก็ทำการสำรวจติดตามผลของผู้ป่วยบ้างโดยโรงพยาบาล NTT Medical Center Tokyo กลุ่มเป้าหมายคือชายหญิง 572 คน ที่ว่าพบว่ามีอาการเส้นเลือดโป่งพองเกิน 3 มิลลิเมตร ตั้งแต่เดือนมกราคม ค.ศ. 2001-เมษายน ค.ศ. 2004 แล้วติดตามต่อยาวนานที่สุด 8 ปี
อัตราที่เส้นเลือดจะปริแตกทั้งตัวต่อปี…….0.85% (1 ใน 150 คน)
โป่งพอง 3-4 มิลลิเมตร…………………………0.36%
โป่งพอง 5-6 มิลลิเมตร…………………………0.5%
โป่งพอง 7-9 มิลลิเมตร…………………………1.69% (1 ใน 59 คน)
โป่งพอง 10-24 มิลลิเมตร……………………..34.4% เส้นเลือดแตก
การสำรวจนี้ติดตามคนที่เส้นเลือดไม่แตกน้อยเกินไป ไม่อย่างนั้นผมคิดว่าอัตราที่เส้นเลือดจะปริแตกจริงๆ น่าจะต่ำกว่านี้อีกแล้วถ้าผ่าตัดจะเป็นอย่างไร จากรายงานอาการผิดปกติหลังผ่าตัดของคนไข้ เมื่อเอาตัวเลขมาเรียงกันแล้ว ผมถึงกับตาโตเลยละครับ
บทความภาษาอังกฤษซึ่งรวบรวมผล “ การผ่าตัดอาการ เส้นเลือดโป่งพอง ที่ยังไม่ปริแตก ” ของแผนกศัลยกรรมระบบประสาท มหาวิทยาลัยชินชู บอกว่าผลการผ่าตัด 310 คน “ตาย 1 คน” “Fair (พอใช้) 17 คน” “Good (ดี) 30 คน” “Excellent (ดีเยี่ยม) 262 คน”
คำว่า “Good (ดี)” ในที่นี้หมายถึง “ระบบประสาทการทำงานบกพร่องแต่ยังสามารถดำเนินชีวิตด้วยตัวเองได้” เช่น เส้นประสาทในการขยับลูกตา เป็นอัมพาตครึ่งซีก แต่ไม่หนัก มีความบกพร่องทางการมองเห็นเล็กน้อย
และ “Fair (พอใช้)” คือ “มีความเสียหายร้ายแรง ไม่สามารถดำเนินชีวิตด้วยตัวเองได้”
ที่ผ่านมาแม้ผู้ป่วยจะใช้ชีวิตแบบไม่มีอุปสรรคอะไร แต่พอผ่าตัดเท่านั้นร่างกายก็เป็นอัมพาตทันใด และถึงแม้จะต้องนั่งรถเข็นหรือนอนแบ็บอยู่บนเตียงก็ยังอยู่ในระดับ “Fair (พอใช้)”
ผมตกใจทีเดียว ที่มีระดับ “Excellent (ดีเยี่ยม)” ถึง 85% ก็แสดงว่าผู้ป่วยอีก 15% ผ่าตัดแล้วมีปัญหา
ลองได้รู้ตัวเลขนี้แล้ว เป็นใครก็คงอยากผ่าตัด เส้นเลือดที่โป่งพอง ใช่ไหมล่ะครับ
หากไปตรวจสมองแล้วหมอบอกว่า “ มีอาการ เส้นเลือดโป่งพอง ” เป็นใครก็คงเศร้าและหลายคนคงอยากผ่าตัด แต่การผ่าตัดนั้นอันตรายไม่ต่างกับการดวลปืนเลยละครับ เพราะฉะนั้นถ้าไม่มีอาการผิดปกติให้จับสังเกตได้ ก็ไม่ต้องไปตรวจจะดีกว่า
“การตรวจสมอง คือการตรวจสุขภาพเพื่อหาปัจจัยเสี่ยงของโรคในสมอง ด้วยวิธีตรวจเลือดหรือทำ MRI ทว่าการตรวจสมองส่งผลร้ายอย่างชัดเจน”
ฟื้นฟูโรคเส้นเลือดโป่งพองกลับมาปกติอีกครั้ง ไม่ต้องพึ่งหมอ ด้วยอาหารเสริม พลูคาวพลัสลูทีน ดีที่สุดในประเทศไทย
มีรีวิวผู้ทานจริงมากมาย สามารถสอบถามสั่งซื้อได้ที่ 064-456-1565 Line : 0644561565
อ้างอิงข้อมูลนี้มาจากหนังสือเรื่อง ” 47 เรื่องต้องรู้ก่อนไปหาหมอ ” คนเขียนคือ คนโด มะโกะโตะ
แพทย์ประจำภาควิชารังสีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเคโอ หนังสือเล่มนี้ตีพิมพ์ครั้งแรกในญี่ปุ่นในปี 2012
และ นายแพทย์คนโด มะโกะโตะ ยังได้รับเกียรติให้รับรางวัล “Kikuchi Kan Awards ครั้งที่ 60” หากคุณได้อ่านหนังสือเล่มนี้ก็พอจะได้ความรู้มากขึ้น
แสดงความคิดเห็นด้วย Facebook